เมนู

[ว่าด้วยองค์แห่งการฉวยอธิกรณ์]


ภิกษุผู้ประสงค์จะชำระพระศาสนาให้หมดจด จึงฉวยอธิกรณ์ใด ด้วย
ตน, อธิกรณ์นั้น พระอุบาลีเถระเรียกว่า อตฺตาทานํ ในคำว่า อตฺตาทานํ
อาทาตุกาเมน.
กาลนี้ คือ ราชภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย กาลที่ฝนเปียกชุ่ม เป็น
สมัยมิใช่กาล ในคำว่า อกาโล อิมํ อตฺตาทานํ อาทาตุ นี้ กาลพึง
เห็นแผกกัน.
ข้อว่า อภูตํ อิทํ อตฺตาทานํ มีความว่า อธิกรณ์นี้ไม่มี, อธิบาย
ว่า ถ้าว่า ภิกษุเมื่อพิจารณาทราบอย่างนี้ว่า อธรรม เราถือว่า เป็นธรรม,
หรือว่า ธรรม เราถือว่า เป็นอธรรม หรือว่ามิใช่วินัย เราถือว่า วินัย,
วินัย เราถือว่า มิใช่วินัย, หรือว่าบุคคลทุศีล เราถือว่า บุคคลมีศีล หรือ
ว่า บุคคลมีศีล เราถือว่า บุคคลทุศีล. อธิกรณ์ที่จริง พึงทราบโดยปริยาย
อันแผกกัน.
อธิกรณ์ใด เป็นไปเพื่ออันตรายแห่งชีวิต หรือเพื่ออันตรายแก่
พรหมจรรย์ อธิกรณ์นี้ชื่อว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในคำว่า อนตฺถ-
สญฺหิตํ อิทํ อตฺตาทานํ
นี้. อธิกรณ์ที่แผก (จากนั้น ) ชื่อว่าประกอบ
ด้วยประโยชน์.
ข้อว่า น ลภิสฺสามิ สนฺทิฏฺเฐ สมฺภตฺเต ภิกฺขู มีความว่าจริง
อยู่ ในกาลบางคราว ภิกษุทั้งหลายผู้สนับสนุนฝ่ายของตนเห็นปานนั้น ย่อม
เป็นผู้อันเธอไม่อาจที่จะได้ ในเพราะภัยมีราชภัยเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความไม่ได้นั้น จึงตรัสว่า เราจักไม่ได้. แต่ในกาลบางคราว
ภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นผู้อันเธออาจที่จะได้ เพราะเป็นความปลอดภัย

และมีภิกษาดีเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความได้นั้น จึงตรัสว่า
เราจักได้.
ข้อว่า ภวิสฺสติ สงฺฆสฺส ตโตนิทานํ ภณฺฑนํ มีความว่า
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท และความแตก
แห่งสงฆ์ จักมีแก่สงฆ์ เหมือนมีแก่พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี.
ข้อว่า ปจฺฉาปิ อวิปฺปฏิสารกรํ ภวิสฺสติ มีความว่า ความ
หวนระลึกถึงอธิกรณ์นั้น ในภายหลัง ไม่ทำความเดือดร้อนให้เหมือนความ
หวนระลึกของพระมหากัสสปเถระ ผู้ทำปัญจสติกสังคีติข่มขี่สุภัททภิกษุผ้บวช
เมื่อแก่, และเหมือนความหวนระลึกของท่านพระยสะผู้ทำสัตตสติกสังคีติ ข่มขี่
ภิกษุหมื่นรูป เพราะอธิกรณ์มีวัตถุ 10, และเหมือนความหวนระลึกของพระ-
โมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้ทำสหัสสกสังคีติ ข่มขี่ภิกษุ 6 หมื่นรูป ไม่ทำความ
เดือดร้อนให้ในภายหลังฉะนั้น. ทั้งอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ 5 อย่างนั้น
อันภิกษุโจทแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความที่พระศาสนาเป็นของมีสิริเพียงดังดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ อันปราศจากโทษเครื่องเศร้าหมอง

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตรวจดูในตน]


วินิจฉัยในคำว่า อจฺฉิทฺเทน อปฺปฏิมํเสน เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้ :-
บรรดาคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้อันบุคคลใด
ประหารแล้วก็ดี แพทยกรรมทั้งหลาย มีการผ่าฝีเป็นต้น อันบุคคลใดทำแล้ว
แก่คฤหัสถ์ทั้งหลายก็ดี กายสมาจารของบุคคลนั้น เป็นช่องทะลุ เหมือนใบ
ตาลที่ปลวกกิน และชื่อว่ามีโทษที่ควรสอดส่อง เพราะเป็นของที่จะพึงอาจ
เพื่อลูบคลำได้ คือเพื่อจับคร่าในที่ใดที่หนึ่งได้. กายสมาจารที่แผกกัน พึง
ทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ ไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.